Friday, May 6, 2011

การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณสถาน

กองวิจัยและวางแผน ส่วนราชการกรมตำรวจ ที่ 0503 (ส)/27663

วันที่ 30 กันยายน 2525

เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณสถาน

ผบช., ผบก., หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าทุกหน่วยงาน

ตามบันทึก ตร.ที่ 0501/30476 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2517 กำหนดแนวทางในการปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ ให้ใช้ดุลพินิจในการตรวจค้น จับกุม ผู้พกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณสถานให้เป็นการถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ได้บัญญัติไว้ ต่อมาได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 ทวิ แห่งพ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ขึ้นอีก ในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบันยังคงมีปัญหา เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้นพบบุคคลพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะ โดยมีเพียงใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนติดตัวก็มักจะควบคุมตัวมาดำเนินคดี ทุกรายไป ทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้บริสุทธิที่ถูกตรวจค้นและจับกุม เพื่อให้การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง จึงขอซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 3 กำหนดว่า ห้ามมิให้ผู้ใดพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่กรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่ากรณีใด

ห้ามมิให้พกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยหรือพาไปในที่ชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด

ดังนั้นจะเห็นว่ากฏหมายยังคงเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์นำอาวุธปืนที่ ตนมีไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาติดตัวไปเพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สินได้ภายใน ขอบเขตที่กฎหมายให้กระทำได้ตามแนวคำชี้ขาดไม่ฟ้องของอธิบดีกรมอัยการเกี่ยว กับการพกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาจากเจ้าพนักงาน ซึ่งถือว่าโดยสถาพเป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตาม สมควรแก่พฤติการณ์ มีแนวทางพอสรุปได้ดังนี้คือ

1.ถ้าได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋าเก็บไว้ในช่องเก็บของท้ายรถ ซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด

2.เอาอาวุธปืนใส่กระเป๋าใส่กุญแจแล้ววางไว้ในรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด

3.ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด จำนวนเป็นหมื่นๆ นำติดตัวมาแล้วมีอาวุธปืนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วใส่ในช่องเก็บของ หน้ารถยนต์เพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน

4.ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด นำอาวุธปืนติดตัวมาด้วย โดยแยกอาวุธปืนและเครื่องกระสุนออกจากกัน ใส่กระเป๋าเอกสารไว้ที่พนักเบาะหลังรถยนต์

5.ห่ออาวุธปืน และแหนบบรรจุลูกกระสุน (แม็กกาซีน) แยกออกคนละห่อเก็บไว้ในกระโปรงรถยนต์ซึ่งใส่กุญแจ

จึงแจ้งมาเพื่อทราบและแจ้งให้ข้าราชการตำรวจที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อใช้เป็น ดุลยพินิจประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนี้ต่อไป

ลงชื่อ พล.ต.ท.ณรงค์ มหานนท์ (ณรงค์ มหานนท์)
รองอ.ตร.ปป.ปร.ท.อ.ตร.

จะ เห็นว่าการพกพาอาวุธปืนไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้หรือมีช่องให้เล็กน้อย มากหรอกครับ สิ่งที่ทำได้ก็อย่างที่ระบุอยู่ในเอกสารข้างต้น เพราะฉะนั้นถ้าเรามีเหตุจำเป็นก็พกได้ครับตามถนนตรอกซอกซอยก็ได้แต่ต้องไม่ ใช่ในที่งานรื่นเริง นมัสการหรือเทศกาลที่คนมารวมกันเยอะๆ แต่ถ้าจะพกไว้โก้ๆ นี่ไม่ควรอย่างยิ่งเลยครับ ลั่นตูมขึ้นมาขอโทษใครไม่ได้ครับ ประมาทอย่างเดียว เพราะทุกคน ก็ทราบดีว่าปืนลั่นไม่ได้ถ้าไม่มีคนทำให้ลั่นใช่ไหมครับ จะว่าไปเอกสารนี้ก็มีอายุอานามพอสมควรแล้วอาจมีการปรับปรุงแล้วก็ไม่ทราบได้ คงต้องติดตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาตินะครับ แต่ว่าผมเพิ่งได้สำเนาเอกสารฉบับนี้มาไม่นานในฐานะเอกสารประกอบการเรียนชิ้น หนึ่งจึงคิดว่าน่าจะยังคงบังคับใช้อยู่ครับ

การวอร์มปืน

ท่านที่ชอบแข่งยิงปืน มีเคล็ดไม่ลับเล็กน้อยมาบอกท่านดังนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่า ก่อนใช้ปืนยิงแข่งเพื่อทำคะแนนแบบปั้น 10X นั้น ปืนนั้นควรจะต้องถูกวอร์ม (อบอุ่น) เสียก่อน3-5 นัดก่อนยิงบันทึกคะแนน ถ้าท่านเคยสังเกตไหมว่า ท่านตั้งศูนย์ปืนดีแล้วเมื่อวาน แล้วล้างปืนเก็บเพื่อรอแข่งวันรุ่งขึ้น เมื่อท่านยิงนัดแรก และนัดที่ 2 บันทึกคะแนนเลยโดยไม่วอร์มปืน ท่านจะพบว่าลูกปืนของท่านนั้นไม่ได้วิ่งไปในทิศทางที่ท่านตั้งศูนย์ไว้ (ปืนยาวจะเห็นชัดที่สุด) ดังนั้น ควรหาทางวอร์มปืนเพื่อ

1. ให้ลำกล้อง รังเพลิงร้อนและโลหะขยายตัวให้พอเหมาะ
2.สร้าง แรงเสียดทานในลำกล้องให้สม่ำเสมอ เพราะปืนล้างใหม่เมื่อยิงกระสุนนัดแรก นัดสอง ลำกล้องยังสะอาด ลูกจะวิ่งเร็วผิดปกติและทิศทางไม่แน่นอน

ข้อสังเกต ยังมีนักยิงปืนทีมชาติบางท่าน มักจะตั้งศูนย์ปืนก่อนแข่ง 1 วันตอนเย็น และจะไม่ล้างลำกล้อง พอแข่งเช้าก็ยิงเลข กลุ่มกระสุนก็จะพอดี ไม่เปลืองลูกวอร์มปืน (ผมไม่เห็นด้วย ยังไงล้างปืนแล้ววอร์มปืนก่อนแข่งดีที่สุด) ลองดูนะครับ

ผู้ผลิตอาวุธปืน

ศูนย์เล็งเรืองแสง

ศูนย์เล็งเรืองแสง (Pistol & Revolver Tritium Night Sights) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปืนพกของ ท่านที่มีอยู่
แล้ว ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ท่านสามารถมองเห็นศูนย์หน้า และ ศูนย์หลังได้ทั้ง
ในเวลากลางวันที่สภาพทัศนะวิสัยจำกัด และในเวลากลางคืน ท่านสามารถเล็งกระบอกปืนของท่านให้ถูกเป้าหมาย
ในเวลากลางวันเป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้ความพยายามมากมายนัก เมื่อท่านฝึกฝนมาดี แต่ถ้าท่านต้องใช้ปืนของท่าน
ในสภาวะ ที่มีแสงสลัว หรือมืดสนิทล่ะครับ การที่จะยิงให้ถูกเป้าหมายนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเลย เพราะท่านจะมองไม่
เห็นศูนย์หน้าศูนย์หลัง ปัจจุบันทางการทหารทั่วโลก ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการรบกลางคืนทุกรูปแบบ
เพราะรบกันแต่ละครั้งก็อาศัยความมืดของธรรมชาติเป็นฉากพราง ทั้งนั้น ไม่ค่อยนิยมปฏิบัติการในเวลากลางวัน
FBIได้ให้สถิติที่น่าสนใจว่า กว่า 80%ของการใช้อาวุธปืนมักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ( No Light ) หรือ แสงสลัว ( Low
Light ) การทาสีขาวสามจุดกับศูนย์เล็งช่วยเล็งได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ปืนรุ่นใหม่บางรุ่น จะติดศูนย์เล็งเรือง
แสงเป็นมาตราฐานจากโรงงานมาเลย
แต่ถ้าปืนของท่านไม่ได้ติดศูนย์เรืองแสงมาก็ไม่เป็นไรนะครับ ท่าน
สามารถติดเพิ่มได้ ซึ่งศูนย์เรืองแสงจะทำมาจากสารเรืองแสงด้วยตัวเอง
มีชื่อว่า ทริเทียม (Tritium) บรรจุอยู่ในรูป ของแก็สในหลอดแก้วใส
ชนิดพิเศษ อายุการใช้งานนานถึง 12ปี ไม่ต้องใช้แบเตรี ไม่ต้องปรน
นิบัติบำรุง ไม่เพิ่มน้ำหนัก ไม่กินเนื้อที่ ติดตั้งง่าย และที่สำคัญไม่แพง(มาก)
ใช้ได้กับปืนพกแทบทุกชนิด ทั้งที่เป็น ศูนย์เล็งแบบคงที่ (Fixed Sight)
หรือจะเป็นศูนย์เล็งแบบปรับได้ (Adjustable Sight)
ท่านสามารถนำศูนย์เล็งเรืองแสงไปติดแทนศูนย์เดิมที่ใช้อยู่ได้ โดยไม่มีการ ดัดแปลงกลไกของปืนแต่อย่างใด
คืนนี้ท่านลองหยิบปืนคู่ใจของท่านมาลองเล็งดูว่า ท่านสามารถมองเห็น ศูนย์หน้า-ศูนย์หลังของปืนท่านได้หรือเปล่า
และถ้าท่านต้องการเพิ่มความมั่นใจว่าปืนคู่ใจของท่านใช้งานได้ตลอดเวลา หรือ Around the Clock ในทุกสภาพ
อากาศแล้วละก็ รีบหามาติดซะนะครับ

กฏแห่งความปลอดภัย

1. เมื่อจับปืนทุกครั้งให้พึงระลึกเสมอว่าปืนทุกกระบอกมีกระสุนบรรจุอยู่
2. ตรวจปืนทุกครั้งที่จับว่ามีกระสุนบรรจุอยู่หรือไม่ มีวัสดุใดติดค้างอยู่ในลำกล้องหรือไม่
3. อย่าเล็งปืนไปที่บุคคล สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งของมีค่า ถ้าผู้ยิงไม่ต้องการยิง
4. อย่าเล็งปืนไปทางวัสดุอื่นใดที่อาจทำให้หัวกระสุนปืนสะท้อนกลับหรือแฉลบได้ เช่นวัสดุที่มีผิวแบนแข็ง ผิวน้ำ
5. อย่าพูดคุยกับผู้อื่นในขณะยิงปืน
6. อย่าทิ้งปืนที่บรรจุกระสุนปืนไว้ในที่ซึ่งมีบุคคลอื่น โดยเฉพาะเด็กอาจหยิบฉวยเอาไปเล่นได้ง่าย
7. อย่าหันปากกระบอกปืนไปทางด้านข้างหรือด้านหลัง ขณะจับปืนอยู่ในแนวยิง
8. เมื่ออยู่ในห้องฝึกหรือสนามยิงปืนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้ควบคุมการฝึกอย่างเคร่งครัด
9. ถ้าไม่เก็บปืนไว้ในซองปืน ต้องจับในลักษณะเปิดลูกโม่ หรือให้โครงเลื่อนปืนอยู่ในลักษณะค้างโครงเลื่อนปืนไว้
10. การส่งปืนให้ผู้อื่น ต้องส่งปืนในลักษณะเปิดลูกโม่ หรือให้โครงเลื่อนปืนอยู่ในลักษณะค้างโครงเลื่อนปืนไว้

ขั้นตอนการขอซื้ออาวุธปืน

คุณสมบัติผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
- บรรลุนิติภาวะ
- สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ
- ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา
เอกสาประกอบคำขออนุญาต
การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ
- บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และ เหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
ข้าราชการทหาร หรือตำรวจ
- บัตรประจำตัวข้าราชการ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และ เหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศพันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป
- ผู้ที่มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น
- บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- หลักฐานประกอบอาชีพ อาทิเช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้างต้องมีหนังสือรับรองตำแหน่งหน้าที่เงินเดือนจาก ผู้มีอำนาจจัดการของกิจการนั้นหรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้าง ต้องมีเอกสารประกอบตามที่อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไร่ ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน เงินฝากธนาคาร (Statement) หรือหลักฐานอื่นเพื่อประกอบการพิจารณา
- หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป
- พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล(รับโอน)
- หลักฐานเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนจากร้านค้า
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้โอนพร้อมสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(ป.4)ของอาวุธปืนที่จะโอน
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
- ภายหลังที่ได้รับอนุญาตผู้โอน(เจ้าของเดิม) กับผู้ขอรับโอน ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลังใบอนุญาต(ป.4) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใคร มีค่าตอบแทนเท่าไร หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทนเนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เพื่อเป็นหลักฐานทั้ง2ฝ่าย(ผู้โอน+ผู้รับโอน)
การขอรับโอนอาวุธปืนมรดก (เจ้าของปืนตาย)
- ผู้ที่มีอาวุธปืนหรือใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(ป.4) อยู่ในครอบครองต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ตายพร้อมนำใบอนุญาต(ป.4) และอาวุธปืนมอบให้นายทะเบียนด้วย
- ใบมรณบัตร พร้อมสำเนา
- สำเนาคำสั่งศาลกรณีศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
- ถ้ามีผู้จัดการมรดกเสนอได้เลย
- ถ้าไม่มีผู้จักการมรดก ต้องสอบทายาททั้งหมด ว่ายินยอมสละปืนแล้วเสนอนายทะเบียนฯ
- ผู้ขอรับโอนปืนมรดกนำหลักฐานเอกสารประกอบคำร้องเช่นเดียวกับการขอรับโอนอาวุธปืนจากบุคคลมายื่นต่อ
นายทะเบียนท้องที่พร้อมเอกสารข้างต้น
- หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
- นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง
การแจ้งการย้ายอาวุธปืน
- ต้องยื่นคำร้องขอย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนท้องที่เดิม และนายทะเบียนท้องที่ซึ่งย้ายไปอยู่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออกไปและวันที่ไปถึง
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
การออกใบแทนหรือคัดสำเนาใบอนุญาตอาวุธปืน

- ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- กรณีใบอนุญาตสูญหาย แจ้งความสถานีตำรวจท้องที่ที่ใบอนุญาตหาย แล้วนำใบแจ้งความพร้อมคัดสำเนาประจำวันด้วย
- นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

อัตรค่าธรรมเนียมอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน

1. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
- ปืนยาวประจุปาก ปืนอัดลม ฉบับละ 100 บาท
- ปืนอื่นๆ ฉบับละ 500 บาท
2. ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ฉบับละ 1,000 บาท
3. ใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน กระบอกละ 5 บาท
4. ใบอนุญาตให้ซื้อกระสุนปืน นอกจากกระสุนอัดลมร้อยละหรือเศษของร้อย1 บาท
5. ใบแทนใบอนุญาต
- ใบแทนใบอนุญาติให้ทำ ค้าอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด ฉบับละ 20 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตให้ประกอบซ่อมแซม
หรือเปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฉบับละ 15 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตอื่นๆ ฉบับละ 5 บาท
ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอื่น นอกจากค่าธรรมเนียมเท่านั้น
สถานที่ติดต่อ : ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง
วังไชยา นางเลิ้ง ถนนนครสวรรค์
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทร. 0-2356-9552

อยากพกพาปืน ทำอย่างไรดี

หลายๆท่านเมื่อมีปืนแล้ว ก็อยากจะนำติดตัวไปด้วยเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน เพราะตามกฏหมาย ใบ ป.4 เพียงแค่อนุญาตให้ท่านมีและใช้ เท่านั้นไม่ให้พกพาไปไหนมาไหน ไอ้ครั้นจะหวังพึ่งตำรวจ ก็พึ่งได้ยากเสียเหลือเกิน ก็ขนาดสถานฑูต ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญ ยังปล่อยให้คนพกทั้งปืนกล ระเบิดมือไปยึดได้ง่ายๆแบบนั้น ก็หมดหวังละครับ
ทีนี้เราจะทำยังไงกันดี ที่จะพกปืนแล้วไม่ผิดกฏหมาย ตรงนี้ กฏหมายท่านให้ช่องไว้ครับ แต่อยากจะบอกว่าช่องนี้มันเล็กเหลือเกิน แถมมันไม่แน่นอนไม่มีกฎตายตัวเสียด้วย คือท่านต้องยื่นเรื่องขอใบอนุญาตพกพาครับ (ป.12) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้นที่มีอำนาจออกให้ได้ครับ เป็นไงครับ ใหญ่โตดีไหม ออกใบพกปืน 1 ใบ ต้องให้รัฐมนตรีออก แถมออกตามดุลยพินิจเสียด้วย ท่านหมั่นไส้ใครไม่ออกให้ ก็ทำอะไรท่านไม่ได้หรอกนะครับ แต่ถ้าท่านคิดว่าท่านเส้นดีๆ ก็ลองทำดูครับเผื่อจะได้มา แต่เมื่อได้มาแล้วลองอ่านๆดูจะได้สาระดังนี้ว่า ท่านห้ามพกปืนไปในที่สาธารณะ ที่ที่มีงานนมัสการ งานสมโภส ห้ามพกโดยเปิดเผย กล่าวคือ ใบ ป.12 ให้พกได้ตามป่าเขาครับ แต่ทว่าในหลักความเป็นจริง ตำรวจมักเกรงใจคนมีใบ ป.12 ครับ ด้วยความที่ ขอยาก และรัฐมนตรีเป็นคนเซ็น คนที่มีใบนี้ก็คงไม่ขี้ไก่เสียทีเดียว
มาถึงตอนนี้ หลายๆคนคงเริ่มท้อเสียแล้วว่ามีปืนแล้วพกไม่ได้จะมีทำไม ยังครับ ยังมีวิธีพกอยู่ มีกฏหมายอยู่ข้อหนึ่งบัญญัติไว้ว่า " ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไป ในเมือง ในหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ "
เว้นแต่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ประโยคนี้เองครับเป็นทางออกแก่ผู้ที่สิ้นหวังอย่างเราๆท่านๆ แล้วจะทำอย่างไร หรือรู้ได้อย่างไรครับว่าอันไหนเร่งด่วน ไม่เร่งด่วน จำเป็นหรือไม่จำเป็น และควรหรือไม่ควร อันนี้เป็นเรื่องที่ผมเคยได้ยินและได้อ่านมา ไม่ขอรับรองและให้ยึดเป็นหลัก เพื่อนที่อ่านควรศึกษาเพิ่มเติมด้วยและโปรดใช้ความคิดประกอบในการอ่าน กล่าวคือ เมือจะพก ไปควรพกอย่างปกปิด ถ้าจะให้ดี ต้องทำให้ปืนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมยิง หรือยิงยากที่สุดที่จะมากได้ เช่น มีโครงปืนอยู่ลิ้นชักหน้ารถ ลูกอยู่ในกล่องท้ายรถ ลำสไลด์ อยู่กระโปรงท้ายรถ มีล็อกอย่างดี อันนี้ ท่านว่าน่าจะหลุด 98 % คือยิ่งทำให้หยิบมาใช้งานยาก เปเซ็นการไมèโดนจับก็ มากขึ้นไปด้วย อันต่อไปก็คือ ความจำเป็น อย่างไรจึงเรียกว่าจำเป็น ถ้าท่าน โดนขโมยขโมยรถแล้วหนีไป ต่อหน้าต่อตา ท่านหยิบปืนออกไปตามขโมยอันนี้พอจะถือได้ว่าจำเป็น เพราะท่านมีสิทธิที่จะปกป้องทรัพย์สินของท่าน และท่านไม่รู้ว่า ขโมยดังกล่าวมีอาวุธหรือไม่ แต่หากท่านหยิบไปเพราะท่านโดนขโมยรถ เมื่อ เดือนที่แล้ว อันนี้ความจำเป็นของท่านคงหมดไปแล้ว
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจ เรื่องนี้อยากให้ลองไปหาอ่านเพิ่มเติม ตามหนังสือกฏหมายจะได้ข้อมูลดีขึ้น สำหรับการพกข้อต่อไป ซึ่งหลายๆคนใช้วิธีนี้อยู่คือ พกได้ตราบจนตำรวจไม่พบปืนของท่าน อันนี้ไม่มีใบ ป.12 ก็พกได้นะครับ แต่โดนจับแล้วไม่ค่อยจะคุ้ม ต้องเสียค่าปรับ เผลอๆอาจจะโดนริบปืนได้อีกนะครับ
ส่วนกรณีที่ท่านโดนจับแล้วจะทำยังไง อันนี้มีรุ่นน้องผมโดนนะครับ ก็เล่าให้ฟังเป็นอุธาหรณ์ รุ่นน้องผมต้องขับรถระหว่างกรุงเทพ กาจนบุรี อยู่บ่อย แกก็พกปืนที่มีใบ ป.4 เรียบร้อย โดยไว้ที่ลิ้นชักหน้ารถ โดยปืนอยู่ในสภาพพร้อมยิง มีกระสุนในรังเพลิงอยู่ 1 นัด พอมาถึงกรุงเทพ แกก็แวะพักทานข้าวที่ ป.กุ้งเผาก่อน แล้วก็เป็นเรื่องครับ ตำรวจขอตรวจค้นก็เจอปืนจนได้ เป็น โค้ลท์ โกลคัพ 11 มม. ก็มีทะเบียนเรียบร้อยแหละครับ แต่ตำรวจท่านก็ไม่สนล่ะครับทำตามหน้าที่ ขนาดรุ่นน้องผมจะให้เงิน ท่านก็ไม่ยอม ก็ขอยกย่องไว้ตรงนี้นะครับ ในที่สุดท่านก็พาไปโรงพัก ร้อยเวรก็ลงบันทึกประจำวัน แล้วก็ยึดปืนไว้ตรวจสอบ ก็รอประมาณเดือนกว่าๆแหละครับ ถ้าปืนไม่มีปัญหา ก็ไปรับปืนคืนแล้วเสียค่าปรับ ยังดีนะครับ ที่เค้าไม่ลงโทษมากกว่านั้น
ยังไงเพื่อนๆก็ลองคิดๆดูแล้วกันครับไม่จำเป็นอย่าพกเลยเสียทั้งเงินทั้งเวลา และที่อยากจะฝากไว้เลยนะครับ กรณีที่ท่านพกปืนอยู่กับตัว แล้วโดนตำรวจตรวจค้น ( คือยังไงเค้าก็เจอปืนท่านแน่ๆ ) ให้รีบบอกตำรวจก่อนครับ ว่าเราพกปืนไว้ อ้อ บอกนะครับ ไม่ใช่ขู่ ส่วนตำรวจจะหยิบปืนขึ้นมาเองก็ไม่เป็นไร หรือว่า ถ้าตำรวจให้เราหยิบปืนออกมา ให้ค่อยๆหยิบนะครับ แล้วนิ้วห้ามเข้าไปอยู่ในโกร่งไกเด็ดขาด แล้วค่อยๆหันด้าน ด้ามปืนส่งไปให้ตำรวจนะครับ อย่าไปชักแบบจะยิงเป็นอันขาด ท่านอาจโดนยิงก่อนได้นะครับ ที่สำคัญถ้าตำรวจเค้าอ้างว่าท่านขัดขืนการจับกุมและพยายามต่อสู้ ท่านจะตายฟรีเสียปล่าวๆ

 

Gun And Gun ! Copyright © 2011 -- Template created by O Pregador -- Powered by Blogger